วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552

ยาบ้า

ยาบ้า เป็นยาเสพติด สารสังเคราะห์มีแอมเฟตามีนเป็นส่วนประกอบ มีชื่อเรียกต่าง ๆ เช่น ยาขยัน ยาแก้ง่วง ยาโด๊ป นิยมเสพโดยรับประทานโดยตรงหรือผสมในอาหาร หรือเครื่องดื่ม หรือเสพโดยนำยาบ้ามาบดแล้วนำไปลนไฟแล้วสูดดมเป็นไอระเหยเข้าสู่ร่างกาย จัดเป็นยาเสพติดให้ประโยชน์ประเภทที่ 1 (ชนิดดีมาก) ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดประโยชน์ พ.ศ. 2441

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ลักษณะทางกายภาพ
2 ประวัติ
3 การออกฤทธิ์
4 โทษทางกฎหมาย
5 การสังเกตผู้ติดยา
6 การบำบัดผู้ติดยาบ้า
7 ข้อบ่งใช้ทางการแพทย์
8 เกร็ด
9 อ้างอิง



[แก้] ลักษณะทางกายภาพ
ยาบ้า มีลักษณะเป็นยาเม็ดกลมแบนขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ความหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร น้ำหนักเม็ดยาประมาณ 80-100 มิลลิกรัม มีสีต่างๆ กัน เช่น สีส้ม สีน้ำตาล สีม่วง สีชมพู สีเทา สีเหลือง และสีเขียว เป็นต้น มีเครื่องหมายการค้า เป็นสัญลักษณ์หลายแบบ เช่น รูปหัวม้าและอักษร LONDON มีสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนเม็ดยา เช่น ฬ , ฬ99 , M , PG ,WY สัญลักษณ์รูปดาว , รูปพระจันทร์เสี้ยว ,99 หรืออาจเป็นลักษณะของเส้นแบ่งครึ่งเม็ด ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้อาจปรากฏบนเม็ดยาด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน หรืออาจเป็นเม็ดเรียบทั้งสองด้าน รูปร่างของยาบ้าอาจพบในลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ กลมแบน รูปเหลี่ยมรูปหัวใจ หรือแคปซูล

ยาบ้า คือยากลุ่มแอมเฟทตามีน(Amphetamines) ซึ่งมีหลายตัว เช่น Dextroamphetamine, Methamphetamine เรียกกันแต่เดิมว่า “ยาม้า” ยานี้เคยใช้เป็นยารักษาโรคอยู่บ้างในอดีต สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคผลอยหลับโดยไม่รู้ตัว (Narcolepsy) เด็กที่ไม่ชอบอยู่นิ่ง ขาดความตั้งใจและสมาธิในการเรียน (Attention Deficit Disorder) และผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ปัจจุบันนิยมนำมาใช้กันอย่างเเพร่หลาย


[แก้] ประวัติ
ยาบ้ามีประวัติที่มายาวนาน โดยสังเคราะห์ได้กว่าหนึ่งร้อยปีแล้ว ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองใช้กระตุ้นความกล้าหาญและความ อดทนของทหารทั้งสองฝ่าย โดยประมาณกันว่ามีการใช้ยาบ้ากว่า 72 ล้านเม็ดระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง แม้กระทั่งฮิตเลอร์ ก็ฉีดยาบ้าแทบทุกวัน หลังสงครามการใช้ยาบ้าจึงเริ่มแพร่ขยายออกไปสู่สังคม สาเหตุที่เคยเรียกว่า ยาม้า สันนิษฐานได้หลายแง่ บ้างว่าคงมาจากการที่เคยนำไปใช้กระตุ้นม้าแข่งให้วิ่งเร็ว และอดทน บ้างว่าเนื่องจากทำให้ผู้ใช้ยาคึกคะนอง เหมือนม้า อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนมาเรียกเป็นยาบ้า ก็เพื่อจะเน้นความเป็นพิษของยา ซึ่งเมื่อใช้มากเกินขนาดหรือใช้ติดต่อกันนานๆ จะทำ ให้ผู้ใช้ยามีลักษณะเหมือนคนบ้าและเนื่องจากกระบวนการสังเคราะห์สารนี้ไม่ ซับซ้อน ปัจจุบันจึงมีการลักลอบสังเคราะห์ กันอยู่ในประเทศไทย

ในระยะแรก ยาบ้ามีชื่อเรียกในภาษาไทยว่า ยาขยัน เป็นที่นิยมในกลุ่มนักเรียนที่ต้องดูหนังสือสอบดึกๆ ต่อมาเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน คนขับรถบรรทุก มีชื่อเรียกว่า ยาม้า เหตุที่ได้ชื่อนี้มาจากเครื่องหมายการค้าของบริษัท Wellcome ซึ่งเป็นบริษัทแรกที่ส่งยาชนิดนี้มาขายในประเทศไทย

ในสมัยหนึ่งนักเคมี ทดลองสังเคราะห์ สารที่มีโครงสร้างคล้ายยาบ้ามากมายหลายตัว โดยหวังว่าคงจะมีสักตัวที่ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่กลับปรากฏว่าสารเหล่านั้น มักไม่ประโยชน์แต่กลับมีผลเสียต่อจิตอารมณ์แทบทุกตัว สารอนุพันธุ์เหล่านี้ปัจจุบันมีการ ลักลอบสังเคราะห์กันในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ และเรียกกันรวมๆ ว่า Designer Drugs ซึ่งหมายถึงสารที่พยายามดัดแปลงสูตรโครงสร้าง ทางเคมีจากสารเดิม ที่ถูกควบคุมโดยกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อใช้ทดแทนสารเดิมและหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมาย

ยาบ้ามีสารประกอบหลักในกลุ่มแอมเฟตามีน (Amphetamine) ซึ่งเป็นสารที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาในปี ค.ศ.1887 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ เอเดเลียโน (Edeleno) ในรูปของแอมเฟตามีนซัลเฟต (Amphetamine Sulfate) ต่อมาในปี ค.ศ.1888 นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นก็สามารถสังเคราะห์อนุพันธ์ของแอมเฟตามีนได้อีกตัวหนึ่งคือ เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางได้รุนแรงกว่า แอมเฟตามีน และยาบ้าที่ระบาดในประเทศไทยขณะนี้ก็มีสารประกอบหลักเป็นเมทแอมเฟตามีนนี้เอง

ปัจจุบัน มีชื่อเรียกว่า ยาบ้า ตามข้อเสนอของนายเสนาะ เทียนทอง ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อ พ.ศ. 2539 ซึ่งให้นโยบายว่า ชื่อยาม้า ทำให้ผู้เสพเข้าใจว่า เป็นยาที่กินแล้วให้กำลังวังชา มีเรี่ยวแรง คึกคักเหมือนม้า ควรจะเปลี่ยนไปเรียกว่า ยาบ้า เพื่อให้ผู้เสพตระหนักถึงโทษของยาที่ทำให้ผู้เสพไม่สามารถควบคุมสติได้ เกิดความรังเกียจ ทำให้ไม่อยากเสพ และจะช่วยลดจำนวนผู้เสพยาได้ [1] และเปลี่ยนประเภทจากสิ่งเสพติดประเภท 3 ซึ่งจำหน่ายได้ในร้านขายยา เป็นสิ่งเสพติดประเภท 1 ซึ่งห้ามจำหน่าย และมีบทลงโทษต่อผู้ขายรุนแรง เพื่อให้ผู้ขายกลัวต่อบทลงโทษ แต่กลับทำให้ยาบ้ามีราคาจำหน่ายสูงขึ้น จนสร้างผลกำไรต่อผู้ขายเป็นอย่างมาก และมีผู้ผลิตและจำหน่ายมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงส่วนผสมให้เสพติดง่ายขึ้น มีฤทธิ์รุนแรงขึ้น จนกลายเป็นปัญหาสังคมในปัจจุบัน

ในปัจจุบัน แถบชายแดนไทยกัมพูชาจะรับซื้อยาบ้าจากทางว้าแดงส่งผ่านมาทางประเทศลาวแล้วนำยาบ้ามาบดแล้วผสมกับแป้งทำยา (Drug Powder) แล้วนำมาอัดขึ้นรูปใหม่เพื่อให้มีจำนวนเม็ดยาเพิ่มขึ้น ตัวสารเสพติดต่อเม็ดจะลดลงเพื่อเพิ่มกำไร

ในประเทศผู้ผลิต (กลุ่มว้าแดง) จะห้ามประชาชนของเขาเสพยาเสพติดที่เขาผลิตโดยเด็ดขาด ถ้าทางผู้ผลิตทราบจะลงโทษสถานหนักถึงขั้นยิงทิ้งเลยทีเดียว

การขนส่งยาเสพติดจากประเทศผู้ผลิตจะส่งกัน 2 ทางคือ

1. ทางบก โดยผู้ผลิตจะนำยาเสพติดใส่หลังสัตว์ (ลา) หรือให้คนงานใส่เป้พร้อมอาวุธบรรทุกมาตามแนวชายแดนฝั่งตะวันตกของประเทศไทย หรืออ้อมสามเหลี่ยมทองคำผ่านเข้าประเทศลาวสู่ประเทศไทย หรือผ่านลาวลงมากัมพูชาเข้าประเทศไทย

2. ทางน้ำ ผู้ผลิตจะนำยาเสพติดใส่เรือประมงทางฝั่งทะเลอันดามาลงมาทางใต้ของไทย


[แก้] การออกฤทธิ์
ยาบ้า เป็นยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ในระยะแรกจะออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ใจสั่น ประสาทตึงเครียด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยาจะรู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติ ประสาทล้าทำให้การตัดสินใจช้าและผิดพลาด เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้สมองเสื่อม เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง เสียสติ เป็นบ้า อาจทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้ หรือในกรณีที่ได้รับยาในปริมาณมาก (Over dose) จะไปกดประสาท และระบบการหายใจทำให้หมดสติ และถึงแก่ชีวิตได้


[แก้] โทษทางกฎหมาย
ข้อหา บทลงโทษ
ผลิต นำเข้า หรือส่งออก ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หากเป็นการกระทำเพื่อ
จำหน่าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต ( กรณีคำนวณเป็น สารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ 20 กรัม ขึ้นไป ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อ จำหน่าย)

จำหน่ายหรือครอบครองเพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิตและ
ปรับตั้งแต่ 5 หมื่นบาทถึง 5 แสนบาท หากมีสารบริสุทธิ์ ไม่เกิน 100 กรัม แต่ถ้าเกิน 100 กรัม ต้องระวางโทษจำคุก ตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต

ครอบครอง คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม ต้องระวางโทษจำคุก 1 ถึง 10 ปี และปรับ 1 หมื่นบาท ถึง 1 แสนบาท (คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 20 กรัมขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย)
เสพ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี และปรับ
ตั้งแต่ 5 พันบาท ถึง 1 แสนบาท

ใช้อุบาย หลอกลวง ขู่เข็ญใช้กำลังประทุษร้ายฯให้ผู้อื่นเสพ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 2 หมื่นบาท ถึง 2 แสนบาท และถ้าเป็นการกระทำต่อหญิงหรือบุคคลซึ่ง ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องระวางโทษประหารชีวิต ถ้ากระทำโดยมีอาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุก 4 ปี ถึง 30 ปี และปรับตั้งแต่ 4 หมื่นบาท ถึง 3 แสนบาท
ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1 หมื่นบาท ถึง 5 หมื่นบาท


[แก้] การสังเกตผู้ติดยา
วิธีการสังเกตผู้ติดยาแบบทั่วๆไป ประเภทนี้มีหลายวิธี โดยเริ่มต้นจากพฤติกรรมทั่วๆไปเช่น การนอนดึกเป็นนิสัยแต่ตื่นตอนเช้าตรู่ ปิดห้องนั่งเล่นเกมส์คนเดียว สูบบุหรี่จัด หรือชอบงัดแงะเครื่องจักรกลออกมาทำความสะอาดหรือซ่อมแซม กัดฟันกรามหรือเอามือม้วนที่ปลายผม หรือบีบสิว แต่งหน้าแต่งตัวเปลี่ยนเสื้อผ้าบ่อยๆ เวลาเรียกทานข้าวมักจะไม่มาทานด้วยเพราะยาชนิดนี้จะช่วยให้ผู้เสพไม่หิวข้าว

ให้สังเกตตามซอกตู้ลิ้นชักว่ามีอุปกรณ์การเสพซ่อนอยู่หรือไม่ เช่นหลอด เวลาซักผ้าให้ตรวจดูในกระเป๋าเพื่อดูว่ามีเศษฟรอยซองบุหรี่หรือไม่ (มีลักษณะเป็นกระดาษอะลูมิเนียมบางของซองบุหรี่)

ถ้าบ้านท่านมีแผ่นฝ้าเพดานชนิดเปิดได้ให้สังเกตว่าฝ้าเพดานที่บ้านท่านปิดสนิทดีหรือไม่ เพราะผู้เสพยามักนิยมนำอุปกรณ์การเสพไปซ่อนไว้ที่นั่น ถ้าสงสัยให้เปิดดู ส่วนใหญ่ถ้าแผ่นฝ้าเพดานหากถูกเปิดบ่อยมักจะไม่สนิท รอยมือดำๆติดอยู่ที่แผ่นฝ้าเพดาน

ให้สังเกตกลุ่มเพื่อนที่มาหา เด็กกลุ่มติดยามักร่วมทำกิจกรรมที่ดูเป็นมิตรเสมอ เช่นซ้อมดนตรี วาดภาพ เปิดติว แต่ความจริงแล้วพวกเขาหาโอกาสมารวมตัวกันเสพยา ให้สังเกตว่ากิจกรรมที่เขาทำอยู่นั้นเนิ่นนานกว่าปกติหรือไม่เช่น ซ้อมดนตรีต่อวันๆ ละ 10 ชั่วโมง เล่นเกมส์กันนานหลายชั่วโมง ไม่กินข้าวกินปลา ถือว่าไม่ปกติ

ถังขยะคือแหล่งข้อมูลที่สำคัญของผู้เสพ ให้สังเกตตามถังขยะหน้าบ้านเวลาบุตรหลานท่านไปทิ้งขยะ (มักทิ้งเวลาเช้าตรู่) ผู้เสพจะนำอุปกรณ์ต่างๆเหล่านั้นไปทิ้ง

สังเกตผู้ติดยาทางกายภาพของผู้เสพ ให้สังเกตว่าคนติดยาบ้าจะมีหน้าตาที่ดำคล้ำ ขอบตาจะดำ ร่างกายจะผอมผิดปกติ ลมหายใจจะเหม็น ถ้าไม่แน่ใจว่าบุตรหลานของท่านติดยาหรือไม่ให้ท่านไม่จำเป็นต้องตรวจด้วยยา ให้ใช้วิธีการให้คนๆนั้นยื่นมือยื่นแขนทั้งสองแขนเหยียดตรงมาข้างหน้า แล้วกางมือให้ตั้งฉากกับแขนแล้วกางนิ้วออก หากมีการสั่นผิดปกติ มีแนวโน้มว่าผู้นั้นใช้ยาเสพติด


[แก้] การบำบัดผู้ติดยาบ้า
การบำบัดรักษาผู้ติดยาบ้าไม่ใช่การทำให้ร่างกายปลอดจากยาเสพติด แต่เป็นการบำบัดรักษาความผิดปกติของร่างกายจากผลของยาเสพติด คือ ความผิดปกติของระบบประสาท โดยเฉพาะสมองส่วนกลาง (Central nervous system) และสารสื่อเคมีสมอง (Neurotransmitter) สมองของผู้ติดยาเสพติดต้องการฤทธิ์ของยาเสพติดที่จะกระตุ้นให้ระบบสมองทำงานอย่างปกติ หากช่วงใดขาดยาเสพติดไปกระตุ้นก็จะเกิดอาการผิดปกติขึ้น

อาการผิดปกติของร่างกายที่เห็นทันทีที่หยุดยาบ้า คือ อาการถอนพิษยา ซึ่งจะมีอาการหิวบ่อย กินจุ กระวนกระวาย อ่อนเพลียและมีความรู้สึกจิตใจหดหู่ บางรายมีอาการถึงขนาดอยากฆ่าตัวตาย ในระยะนี้ ผู้ติดยาบ้าจะอยากนอนและนอนเป็นเวลานานในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก

ต่อจากอาการถอนพิษยา ผู้ติดยาบ้าจะมีอาการอยากยามาก ในช่วงนี้ผู้ติดยาเสพติดจะมีความ รู้สึกไม่เป็นสุข ไม่มีกำลังทั้งทางร่างกายและจิตใจ อยากที่จะใช้ยาเพื่อกระตุ้นร่างกายและจิตใจให้เกิดความกระชุ่มกระชวยกลับมาใหม่

การบำบัดรักษายาบ้าในช่วงแรก เป็นการบำบัดรักษาเพื่อลดอาการถอนพิษยาจึงเป็นการให้ยาตามอาการ เพื่อลดความเครียด อาการซึมเศร้าหรืออาการทางจิตอื่นๆ เช่น อาการหวาดระแวง เพื่อให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถประคับประคองตนเองผ่านช่วงนี้ไปให้ได้ หลังจากหยุดยาบ้าประมาณ 3-4 สัปดาห์ อาการถอนพิษยาและอาการอยากยาจะลดน้อยลง

แม้ว่าผู้ติดยาบ้าที่ผ่านการบำบัดรักษาขั้นถอนพิษยาแล้ว จะมีสุขภาพร่างกายและจิตใจดีขึ้น ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง แต่ความผิดปกติของระบบสมอง พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมยังไม่ได้แก้ไข จำเป็นที่จะต้องเข้าสู่ขั้นตอน ฟื้นฟูสมรรถภาพ ต่อไป เพื่อให้ผู้ติดยาบ้าหายขาดไม่หวนกลับไปใช้ยาเสพติดอีก

การที่ต้องผ่านขั้นตอนฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อฟื้นฟูให้สมองของผู้ติดยาเสพติดกลับมาเป็นสมองของคนปกติ เนื่องจากระบบประสาทของคนติดยาต้องการเสพติดเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นให้มีสารเคมีสมองพอเพียงที่จะทำให้เกิดความสุขไม่วิตกกังวล หากขาดการกระตุ้นจากยาเสพติด สมองของผู้ติดยาเสพติดจะมีปฏิกิริยาตรงกันข้าม คือผู้ติดยาจะหงุดหงิดไม่เป็นสุข มีความเครียด วิตกกังวลและมีความอยากที่จะกลับไปเสพ ยาเสพติดอีก ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควรให้ส่วนต่างของสมองได้ปรับตัวกลับเป็นปกติในช่วงที่ระบบสมองปรับตัวเป็นปกติ ผู้ติดยาเสพติดต้องไม่หวนกลับไปเสพยาเสพติดอีก

นอกจากระบบสมองแล้ว พฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของผู้ติดยาต้องได้รับการปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น ในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพมีหลายวิธี การที่จะช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติด เช่น การเข้าค่ายฟื้นฟูฯ การให้ คำปรึกษา การทำจิตบำบัด และชุมชนบำบัด เป็นต้น เพื่อให้ผู้ติดยาเสพติดเข้าใจถึงปัญหาของตนเองที่นำไปสู่การเสพยาเสพติด ปรับสภาพครอบครัวให้สมาชิกในครอบครัวได้เข้าใจปัญหาและช่วยกันดูแลประคับประคองผู้ติดยาเสพติด ปรับสภาพกลุ่มเพื่อนให้ห่างไกลจากเพื่อนที่จะมาชักชวนให้เสพยาเสพติด สร้างความมั่นคงทางจิตใจผ่านทางผู้เกี่ยวข้องหรือกลุ่มที่เลิกยาแล้ว ให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถยืนหยัดแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยไม่หวนกลับไปเสพยาอีก


[แก้] ข้อบ่งใช้ทางการแพทย์
บทความนี้ต้องการแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม เพื่อให้บทความน่าเชื่อถือและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
คุณสามารถช่วยพัฒนาวิกิพีเดีย โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงที่เหมาะสม ไม่ควรปล่อยให้งานเขียนของคุณปราศจากแหล่งอ้างอิง
รายละเอียดเพิ่มเติม การอ้างอิงแหล่งที่มา - การพิสูจน์ยืนยันได้ - วิธีการเขียน - ป้ายนี้มีไว้เพื่ออะไร

ในทางการแพทย์ยาชนิดนี้มีชื่อทางการค้าว่า Desoxyn® ภายใต้สิทธิบัตรของบริษัท OVATION Pharmaceuticals จำกัด (โอเวชั่น ฟาร์มาซูติคอล) มีขนาดตั้งแต่ 5 mg, 10 mg, และ 15 mg หนึ่งกล่องบรรจุร้อยเม็ด ใช้บำบัดโรคซึมเศร้า โรคที่เกี่ยวกับระบบทางหายใจ ภูมิแพ้ ลดความอ้วน

ราคายา Desoxyn ต่อหน่วยประมาณ (แบบถูกกฎหมาย) (หน่วยเงิน US$ ยูเอสดอลล่า)

ขนาด 5 mg บรรจุ 100 เม็ด ราคา $306

ขนาด 10 mg บรรจุ 100 เม็ด ราคา $408

ขนาด 15 mg บรรจุ 100 เม็ด ราคา $520

ราคายาบ้าต่อหน่วย/เม็ด ในประเทศไทยสถิติตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000-2008 (หน่วยเงินเป็นบาท) (ราคาขายปลีก)

ปี ราคาในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ราคาในจังหวัดชายแดนใกล้แหล่งผลิต ราคาในต่างจังหวัด
2000-2002 60-70 35-40 120-150
2003-2005 100-150 60-80 150-200
2005-2006 200-250 100-120 250-300
2006-2008 250-350 200-250 250-400
2009 210-270 100-150 250-300


[แก้] เกร็ด
บทความนี้ต้องการแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม เพื่อให้บทความน่าเชื่อถือและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
คุณสามารถช่วยพัฒนาวิกิพีเดีย โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงที่เหมาะสม ไม่ควรปล่อยให้งานเขียนของคุณปราศจากแหล่งอ้างอิง
รายละเอียดเพิ่มเติม การอ้างอิงแหล่งที่มา - การพิสูจน์ยืนยันได้ - วิธีการเขียน - ป้ายนี้มีไว้เพื่ออะไร

สีของยาบ้าจะบ่งบอกเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น แหล่งผลิต ความเข้มข้นของตัวยา สีที่พบบ่อย ได้แก่
1. สีส้ม คือสีส่วนใหญ่ของยาบ้า แหล่งผลิตตามแนวชายแดนประเทศไทย หรือในประเทศเทศไทยเอง ถือว่าเป็นสีมาตรฐานของยาบ้า

2. สีเหลืองดอกคูณ เป็นยาบ้าที่มีตัวสารเสพติดสูงกว่าแบบสีส้ม แหล่งที่มา ประเทศพม่า

3. สีช็อกโกแลต เอกลักษณ์คือกลิ่นจะหอมเหมือนช็อกโกแลต ทำให้ผู้เสพใหม่ๆติดใจในกลิ่น เพราะเสพง่าย บางครั้งมีรสหวานติดมากับควันด้วย

4. สีกะปิ เป็นยาบ้าโบราณ เกิดเมื่อสมัยยาบ้าระบาดแรกๆ มักจะมีอักษรปั๊มว่า ฬ99 สีนี้ผลิตในเมืองไทยสมัยยังไม่ผิดกฎหมาย

5. สีม่วง ยาบ้าสีนี้ไม่ทราบที่มา แต่จะระบาดในช่วงปี ค.ศ. 1997-1999 เป็นสีที่หายากมากเพราะผลิตออกมาน้อย

6. สีเขียว สีเขียวเป็นยาบ้าชนิดพิเศษ จะมีตัวสารเสพติดแรงกว่ายาบ้าสีอื่นๆถึง 5 เท่า จะใส่มาในถุง 1 ถุงจะมียาบ้าสีเขียวจำนวนเพียง 2 เม็ดเท่านั้น (1 ถุงมี 200 เม็ด) ส่วนอีก 198 เม็ดจะเป็นสีส้ม บางความเชื่อของผู้เสพรวมทั้งผู้ขายเชื่อว่ายาบ้าสีเขียวคือสารดูดความชื้น ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ทางผู้ผลิตทำขึ้นเพื่อบ่งบอกว่าใน 1 ถุงมีจำนวนยาเท่าใด (ยาบ้าสีเขียว 1 เม็ด แสดงว่ามียาบ้าสีส้ม 99 เม็ด)

7. สีแดงอิฐ มีลักษณะสีเหมือนอิฐมอญ มีสารเสพติดค่อนข้างสูง

8. สีชมพู ยาบ้าชนิดนี้เป็นยาบ้าที่คุณภาพต่ำที่สุด ไม่เป็นที่นิยมในหมู่ผู้เสพ

9. สีขาว เป็นยาบ้ารุ่นแรกสุดของสมัยที่เรียกว่ายาม้า

ถุงที่ใส่ยาบ้า จะเป็นลักษณะเหมือนซองยาสีน้ำเงิน เพราะทางผู้ผลิตต้องการให้สีของถุงบรรจุกลบสีของยาบ้า ถุงประเภทนี้จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหาซื้อไม่ได้ตามท้องตลาด คาดว่าผู้ผลิตผลิตหรือสั่งผลิตขึ้นมาเป็นกรณีพิเศษ เล็กกว่าถุงใส่ปกติทั่วไป
ยาบ้า 1 ถุงมี 200 เม็ด (ภาษานักค้ายาเรียกว่า 1 คอก) ยาบ้า 20 ถุงเรียกว่า 1 มัด (2000 เม็ด) จะมีลักษณะเป็นมัดพันด้วยกระดาษสีน้ำตาลแล้วห่อด้วยสก็อตเทปใสเพื่อป้องกันน้ำเข้า ยาบ้า 1 แถว มี 10 เม็ด นักค้ายาจะแพ็คใส่หลอดกาแฟพลาสติกเป็นแท่ง ๆ ละ 10 เม็ด ยาบ้า 1 ขา มี 1 ส่วน 4 เม็ด หมายความว่า 1 เม็ดแบ่งเป็นสี่ส่วน

อักษรบนตัวยาบ้า อักษรบนตัวยาบ้ามีหลายชนิดมีที่มาต่างกัน เช่น
ถ้าเป็นตัวภาษาอังกฤษหรือรูปภาพต่างๆ ยาบ้าชนิดนี้จะผลิตในต่างประเทศ ในสมัยก่อนยาบ้าหรือยาขยันนี้ยังไม่ผิดกฎหมาย นักเคมีบางกลุ่มได้สูตรการผลิตมาจากยุโรปจึงนำมาสร้างภาพลักษณ์ของตัวเอง โดยพิมพ์อักษรลงไปบนเม็ดยาว่า 99, ฬ99, ฬ สามแบบที่ว่านี้ถูกผลิตขึ้นในประเทศไทย (ไทยผลิตก่อนว้าแดง) ต่อมาทางการเริ่มยกระดับเป็นยาเสพติด อักษรไทยต่างๆ เหล่านี้จึงหายไปจากวงการค้ายาเสพติด

อักษร WY อักษรนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อที่ชนกลุ่มน้อย (ว้าแดง) นำยาเสพติดไปผลิตเพื่อจำหน่าย โดยพวกเขาได้ใช้สัญลักษณ์นี้บนตัวยาบ้าที่เขาผลิตขึ้นมา เพื่อให้ลูกค้าทราบว่ายาชนิดนี้ผู้ใดเป็นผู้ผลิต ส่วนความหมายนั้นจนปัจจุบันยังเป็นปริศนาอยู่ว่า WY หมายความว่าอะไร


[แก้] อ้างอิง

ไข้หวัดใหญ่ 2009

โรคไข้หวัด
google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);
ไข้หวัดใหญ่
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญข้อแตกต่างระหว่างไข้หวัด เชื้อไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก ไข้หวัดมรณะ ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ โรคไข้หวัดข้ออักเสบ การดูแลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดต่างกันอย่างไร
ไข้หวัดใหญ่เป็นการติดเชื้อ Influenza virus เป็นการติดเชื้อทางเดินระบบหายใจ เช่น จมูก คอ หลอดลม และปอด เชื้ออาจจะลามเข้าปอดทำให้เกิดปอดบวม ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดตามตัวปวดกล้ามเนื้อมาก จะพบมากทุกอายุโดยเฉพาะในเด็กจะพบมากเป็นพิเศษ แต่อัตราการเสียชีวิตมักจะพบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต เป็นต้น การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด สามารถลดอัตราการติดเชื้อ ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ลดโรคแทรกซ้อน ลดการหยุดงานหรือหยุดเรียน
สำหรับไข้หวัดเป็นการติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำมูกไหล ไข้ไม่สูงมาก
ในปี คศ.2003 ได้มีการแนะนำเรื่องไข้หวัดใหญ่ดังนี้
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฉีดวัคซีนคือเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน(เนื่องจากเชื้อนี้มักจะระบาดในต่างประเทศ หากประเทศเราจะฉีดก็น่าจะเป็นช่วงเดียวกัน) โดยเน้นไปที่ประชาชนที่มีอายุ 50 ปี,เด็กอายุ 6-23 เดือน,คนที่อายุ 2-49 ปีที่มีโรคประจำตัวกลุ่มนี้ให้ฉีดในเดือนตุลาคม ส่วนกลุ่มอื่น เช่นเด็ก เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ผู้ดูแลคนป่วย กลุ่มนี้ให้ฉีดเดือนพฤศจิกายน
เด็กที่อายุ 6-23 เดือนควรจะฉีดทุกรายโดยเฉพาะเด็กที่มีโรคประจำตัวร่วมด้วย
ชนิดของวัคซีนที่จะฉีดให้ใช้ชนิดที่มีส่วนผสมของเชื้อ A/Moscow/10/99 (H3N2)-like, A/New Caledonia/20/99 (H1N1)-like, และ B/Hong Kong/330/2001
ให้ลดปริมาณสาร thimerosal ซึ่งเป็นสารปรอท
google_protectAndRun("ads_core.google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);
เชื้อที่เป็นสาเหต
การติดต่อ
เชื้อนี้ติดต่อได้ง่ายโดยทางเดินหายใจ วิธีการติดต่อได้แก่
ติดต่อโดยการไอหรือจาม เชื้อจะเข้าทางเยื่อบุตาและปาก
สัมผัสเสมหะของผู้ป่วยทางแก้วน้ำ ผ้า จูบ
สัมผัสทางมือที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
อ่านรายละเอียด
อาการของโรค
อาการของไข้หวัดใหญ่จะเหมือนกับไข้หวัด แต่ไข้หวัดใหญ่จะเร็วกว่า ไข้สูงกว่า อาการทำสำคัญได้แก่
ระยะฟักตัวประมาณ1-4 วันเฉลี่ย 2 วัน
ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียอย่างเฉียบพลัน
เบื่ออาหาร คลื่นไส้
ปวดศรีษะอย่างรุนแรง
ปวดแขนขา ปวดข้อ ปวดรอบกระบอกตา
ไข้สูง 39-40 องศาในเด็ก ผู้ใหญ่ไข้ประมาณ 38 องศา
เจ็บคอคอแดง มีน้ำมูกไหล
ไอแห้งๆ ตาแดง
ในเด็กอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
อาการไข้ คลื่นไส้อาเจียนจะหายใน 2 วัน แต่อาการน้ำมูกไหลคัดจมูกอาจจะอยู่ได้ 1 สัปดาห์
สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงมักจะเกิดในผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัว
อาจจะพบว่ามีการอักเสบของเยื่อหุ่มหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ
อาจจะมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะปวดศรีษะ ซึมลง หมดสติ
ระบบหายใจอาจจะมีอาการของโรคปอดบวม จะหอบหายใจเหนื่อยจนถึงหายใจวาย
โดยทั่วไปไข้หวัดใหญ่จะหายในไม่กี่วัน แต่ก็มีบางรายซึ่งอาจจะมีอาการปวดข้อและไอได้ถึง 2 สัปดาห์
ระยะติดต่อ
ระยะติดต่อหมายถึงระยะเวลาที่เชื้อสามารถติดต่อไปยังผู้อื่น
ระยะเวลาที่ติดต่อคนอื่นคือ 1 วันก่อนเกิดอาการ
ห้าวันหลังจากมีอาการ
ในเด็กอาจจะแพร่เชื้อ 6 วันก่อนมีอาการ และแพร่เชื้อได้นาน 10 วัน
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่จะอาศัยระบาดวิทยาโดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาด และอาการของผู้ป่วย การวินิจฉัยที่แน่นอนต้องทำการตรวจดังนี้
นำเอาเสมหะจากจมูกหรือคอไปเพาะเชื้อไวรัส
เจาะเลือดผู้ป่วยหาภูมิ 2 ครั้งโดยครั้งที่สองห่างจากครั้งแรก 14 วัน
การตรวจหา Antigen
การตรวจโดยวิธี PCR,Imunofluorescent
โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ
ผู้ป่วยอาจจะมีอาการกำเริบของโรคที่เป็นอยู่ เช่นหัวใจวาย หรือหายใจวาย
มีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ เช่น ปอดบวม ฝีในปอด
เชื้ออาจจะทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
หูอักเสบ
การรักษา
ผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่จะหายเอง หากมีอาการไม่มากอาจจะดูแลเองที่บ้าน วิธีการดูแลมีดังนี้
ให้นอนพักไม่ควรจะออกกำลังกาย
ให้ดื่มน้ำเกลือแร่หรือดื่มน้ำผลไม้ ไม่ควรดื่มน้ำเปล่ามากเกินไปเพราะอาจจะขาดเกลือแร่ ดื่นจนปัสสาวะใส
รักษาตามอาการ หากมีไข้ให้ใช้ผ้าชุมน้ำเช็ดตัว หากไข้ไม่ลงให้รับประทาน paracetamol ไม่แนะนำให้ aspirinในคนที่อายุน้อยกว่า 20 ปีเพราะอาจจะทำให้เกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า Reye syndrome การรับประทาน paracetamol ก็ต้องระวังจะทำให้ตับอักเสบ
ถ้าไอมากก็รับประทานยาแก้ไอ แต่ในเด็กเล็กไม่ควรซื้อยารับประทาน
สำหรับผู้ที่เจ็บคออาจจะใช้น้ำ 1 แก้วผสมเกลือ 1 ช้อนกรวกคอ
อย่าสั่งน้ำมูกแรงๆเพราะอาจจะทำให้เชื้อลุกลาม
ในช่วงที่มีการระบาดให้หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์สาธรณะ ลูกบิดประตู
เวลาไอหรือจามต้องใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูก
ช่วงที่มีการระบาดให้หลีกเลี่ยงสถามที่สาธารณะ
ผู้ป่วยควรจะพบแพทย์เมื่อไร
แม้ว่าไข้หวัดใหญ่จะหายได้เอง แต่ผู้ป่วยบางรายมีโรคแทรกซ้อน ดังนั้นหากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์
ผู้ป่วยเด็กควรปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้
ไข้สูงและเป็นมานาน
ให้ยาลดไข้แล้วไข้ยังเกิน 38.5องศา
หายใจหอบหรือหายใจลำบาก
มีอาการมากกว่า 7 วัน
ผิวสีม่วง
เด็กดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารไม่พอ
เด็กซึม หรือไม่เล่น
เด็กไข้ลด แต่อาการไม่ดีขึ้น
สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นไข้หวัดใหญ่หากมีอาการดังต่อไปนี้ให้พบแพทย์
ไข้สูงและเป็นมานาน
หายใจลำบาก หรือหายใจหอบ
เจ็บหรือแน่นหน้าอก
หน้ามืดเป็นลม
สับสน
อาเจียน รับประทานอาหารไม่ได
กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ถือเป็นกลุ่มที่เสี่งต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน ควรจะพบแพทย์เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่
ผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น โรคตับ โรคหัวใจ โรคไต โรคปอด โรคเบาหวาน
คนท้อง
คนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
เด็กเล็กหรือทารก
ผู้ป่วยโรคเอดส์
ผู้ที่พักในสถาพเลี้ยงคนชรา
เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์
เจ้าหน้าที่ที่ดูลแลผู้สูงอายุหรือดูแลคนป่วย
หากท่านสงสัยว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ท่านต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อรับยาต้านไวรัสภายใน 48 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ
ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการเหล่านี้ควรจะรักษาในโรงพยาบาล
มีอาการขาดน้ำไม่สามารถดื่มน้ำได้อย่างเพียงพอ
เสมหะมีเลือดปน
หายใจลำบาก หายใจหอบ
ริมฝีปากเปลี่ยนเป็นสีม่วงเขียว
ไข้สูงมากเพ้อ
มีอาการไข้และไอหลังจากไข้หวัดหายแล้ว
การรักษาในโรงพยาบาล
แพทย์จะให้น้ำเกลือสำหรับผู้ที่ดื่มน้ำไม่พอ
ผู้ป่วยเหล่านี้ควรจะได้รับยา Amantadine หรือ rimantidine เพื่อให้หายเร็วและลดความรุนแรงของโรค ควรจะให้ใน 48 ชมหลังจากมีไข้ และให้ต่อ 5-7 วัน ยานี่ไม่ได้ลดโรคแทรกซ้อน
ให้ยาลดน้ำมูกหากมีน้ำมูก
ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนไม่ควรให้ยาปฎิชีวนะ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการจะหายใน 2-3 วันไข้จะหายใน 7 วันอาการอ่อนเพลียอาจจะอยู่ได้ 1-2 สัปดาห์
การป้องกัน
ล้างมือบ่อยๆ
อย่าเอามือเข้าปากหรือขยี้ตา
อย่าใช้ของส่วนตัว เช่นผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ร่วมกับผู้อื่น
หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย
ให้พักที่บ้านเมื่อเวลาป่วย
เวลาไอจามใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก
หลีกเลี่ยงที่ชุมชนเมื่อมีการระบาด
การฉีดวัคซีน
การป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีน ซึ่งทำจากเชื้อที่ตายแล้วโดยฉีดทีแขนปีละครั้ง หลังฉีด 2 สัปดาห์ภูมิจึงขึ้นสูงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อ แต่การฉีดจะต้องเลือกผู้ป่วยดังต่อไปนี้
ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
ผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัวเช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคตับ
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยโรคเอดส์
หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป และมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่
ผู้ที่อาศัยในสถานเลี้ยงคนชรา
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง
นักเรียนที่อยู่รวมกัน
ผู้ที่จะไปเที่ยวยังที่ระบาดของไข้หวัดใหญ่
ผู้ที่ต้องการลดการติดเชื้อ
การใช้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่เพื่อรักษา
Amantadine and Ramantadine เป็นยาที่ใช้ในการป้องกันและรักษาไวรัสไๆข้หวัดใหญ่ชนิด A ไม่ครอบคลุมชนิด B
Zanamivir Oseltamivir เป็นยาที่รักษาได้ทั้งไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั้งชนิด A,B
การให้ยาภายใน 2 วันหลังเกิดอาการจะลดระยะเวลาเป็นโรค
จะใช้ยารักษาไข้หวัดกับคนกลุ่มใด
เราจะใช้ยากับคนกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ และยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน และอยู่ในช่วงที่มีการระบาดของโรคกลุ่มที่ควรจะได้รับยารักษาได้แก่
คนที่อายุมากกว่า 65 ปี
เด็กอายุ 6-23 เดือน
คนท้อง
คนที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคไต โรคตับ โรคหัวใจ
การให้ยาเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่
ยาที่่ได้รับการรับรองว่าใช้ป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้แก่ Amantadine Ramantadine Oseltamivir วิธีการป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีน แต่ก็มีบางกรณีที่จำเป็นต้องให้ยาเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่
ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับวัคซีนไม่ทัน ทำให้ต้องได้รับยาในช่วงที่มีการระบาดของโรค
ผู้ที่ดูดแลกลุ่มเสี่ยงและไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ควรจะได้รับยาในช่วงที่มีการระบาดของโรค
ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี เช่นโรคเอดส์
กลุ่มคนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนและไม่อยากเป็นโรค
คำแนะนำการใช้ยาในเด็ก อ่านที่นี่ข้หวัดนก ไข้หวัดมรณะ ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ โรคไข้หวัดข้ออักเสบ การดูแลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ การติดต่อ